วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
การดูดาว
1 ความนำมนุษย์ให้ความสนใจต่อวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์บนฟากฟ้ามาเป็นเวลาช้านานแล้ว สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้มนุษย์สนใจค้นคว้าหาความจริงในธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้น ด้วยความคิดอันเป็นระบบของมนุษย์ ทำให้มนุษย์พยายามจัดแบ่งดาวที่มีจำนวนมากมายมหาศาลบนท้องฟ้าออกเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อความสะดวกในการค้นหาและสังเกตการณ์ กลุ่มดาวทั้งหมดบนท้องฟ้าจึงถูกแบ่งออกทั้งหมดเป็น 88 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มกำหนดไว้ในรูปของตัวบุคคล เครื่องมือสัตว์ต่าง ๆ ในเทพนิยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทพนิยายกรีก ๆ ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก อีกยังทำให้การดูดาวมีความสนุกสนานเพลิดเพลินในช่วงฤดูหนาวตอนหัวค่ำ เราอาจสังเกตกลุ่มดาวนายพราน (Orion) กลุ่มดาวม้าปีก (Pegasus) กลุ่มดาวสารถี (Auriga) และกลุ่มดาววัว (Taurus) เป็นต้น ส่วนในช่วงฤดูร้อนตอนหัวค่ำ เราอาจสังเกตกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) กลุ่มดาวสิงโต (Leo) เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเห็นดาวเคราะห์ (Planets) บางดวงปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวจักราศี (Zodiac) อีกด้วยเมื่อมีการสร้างกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องดูดาวขึ้นมาในครั้งแรกตั้งแต่สมัยกาลิเลโอ (Galileo) โลกทัศน์ทางดาราศาสตร์และความลี้ลับต่าง ๆ ของเอกภพก็มีความชัดเจนขึ้น นักดาราศาสตร์พบว่าในเอกภพมีดาวฤกษ์และวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ จำนวนมากมายมหาศาลที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และด้วยอำนาจการรวมแสง การแยกภาพและกำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์ดาวฤกษ์จำนวนนับแสนล้านดวงอาจมาอยู่ร่วมกัน ภายใต้แรงโน้มถ่วงระหว่างกัน เป็นอาณาจักรดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ เรียกว่า “ดาราจักร (Galaxy)” ดาราจักรมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป บ้างก็เป็นทรงรี (Elliptical) บางก็เป็นก้นหอย (Spiral) และบ้างก็ไร้รูปร่าง (Irregular) ระบบสุริยะของเราเป็นสมาชิกในดาราจักรที่มีชื่อเรียกว่า “ทางช้างเผือก (Milky Way)” มีรูปร่างเป็นก้นหอย ดาราจักรเพื่อนบ้านของเราที่มีรูปร่างคล้ายดาราจักรทางช้างเผือก มีชื่อว่าดาราจักร “แอนโดรเมดา (Andromeda) อยู่ห่างจากเราประมาณ 2.2 ล้านปีแสง
ระบบอวัยวะ
ระบบอวัยวะ เป็นกลุ่มของอวัยวะที่ทำงานร่วมกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและสัตว์อื่นๆ รวมทั้งมนุษย์ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต, ระบบทางเดินหายใจ, ระบบประสาท เป็นต้น กลุ่มของระบบอวัยวะหลายๆ ระบบรวมกันประกอบเป็นสิ่งมีชีวิต (organism)
ระบบในร่างกายมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ มากมายเนื่องจากจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกลไกการทำงานที่สลับซับซ้อน การศึกษาระบบที่ทำงานเฉพาะเหล่านี้คือวิชากายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ระบบอวัยวะในมนุษย์ยังสามารถพบได้ในสัตว์ชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด
ระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory system) ทำหน้าที่สูบฉีดและลำเลียงเลือดมาจากและไปยังปอดและส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยผ่านหัวใจ, เลือด, หลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร (Digestive system) ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาการโดยมีอวัยวะที่ทำหน้าที่เช่น ต่อมน้ำลาย, หลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, ตับ, ถุงน้ำดี, ตับอ่อน, ลำไส้, ไส้ตรง, และทวารหนัก ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system) ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารภายในร่างกายโดยอาศัยฮอร์โมนซึ่งผลิตจากต่อมไร้ท่อ เช่น ไฮโปทาลามัส, ต่อมใต้สมอง, ต่อมไพเนียล, ต่อมไทรอยด์, ต่อมพาราไทรอยด์, และต่อมหมวกไต ระบบปกคลุมร่างกาย (Integumentary system) ได้แก่ผิวหนัง, ผม, ขน, และเล็บ ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system) เป็นโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายน้ำเหลืองระหว่างเนื้อเยื่อและกระแสเลือด น้ำเหลือง, ต่อมน้ำเหลือง, และหลอดน้ำเหลืองซึ่งทำหน้าที่ขนส่งน้ำเหลืองนั้นจัดว่าอยู่ในระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ซึ่งมีหน้าที่ต่อต้านสารก่อโรคโดยเม็ดเลือดขาว, ต่อมทอนซิล, ทอนซิลคอหอย (adenoid) , ต่อมไทมัส และม้าม ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system) เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อ ระบบประสาท (Nervous system) ทำหน้าที่รวบรวม ขนส่ง และประมวลข้อมูลจากสมอง, ไขสันหลัง, และเส้นประสาท ระบบสืบพันธุ์ (Respiratory system) ประกอบด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น รังไข่, ท่อนำไข่, มดลูก, ช่องคลอด, ต่อมน้ำนม, อัณฑะ, หลอดนำอสุจิ, ถุงน้ำอสุจิ, ต่อมลูกหมาก, และองคชาต ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system) ประกอบด้วยอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ เช่น คอหอย, กล่องเสียง, ท่อลม, หลอดลม, ปอด, และกะบังลม
ระบบโครงกระดูก (Skeletal system) ค้ำจุนและป้องกันโครงสร้างอื่นๆ ด้วยกระดูก, กระดูกอ่อน, เอ็น และเอ็นกล้ามเนื้อ
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary system) ไต, ท่อไต, กระเพาะปัสสาวะ, และท่อปัสสาวะซึ่งเกี่ยวข้องกับสมดุลน้ำ แร่ธาตุ และการขับถ่ายปัสสาวะ
ระบบในร่างกายมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ มากมายเนื่องจากจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกลไกการทำงานที่สลับซับซ้อน การศึกษาระบบที่ทำงานเฉพาะเหล่านี้คือวิชากายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ระบบอวัยวะในมนุษย์ยังสามารถพบได้ในสัตว์ชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด
ระบบไหลเวียนโลหิต (Circulatory system) ทำหน้าที่สูบฉีดและลำเลียงเลือดมาจากและไปยังปอดและส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยผ่านหัวใจ, เลือด, หลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร (Digestive system) ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาการโดยมีอวัยวะที่ทำหน้าที่เช่น ต่อมน้ำลาย, หลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, ตับ, ถุงน้ำดี, ตับอ่อน, ลำไส้, ไส้ตรง, และทวารหนัก ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system) ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารภายในร่างกายโดยอาศัยฮอร์โมนซึ่งผลิตจากต่อมไร้ท่อ เช่น ไฮโปทาลามัส, ต่อมใต้สมอง, ต่อมไพเนียล, ต่อมไทรอยด์, ต่อมพาราไทรอยด์, และต่อมหมวกไต ระบบปกคลุมร่างกาย (Integumentary system) ได้แก่ผิวหนัง, ผม, ขน, และเล็บ ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system) เป็นโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายน้ำเหลืองระหว่างเนื้อเยื่อและกระแสเลือด น้ำเหลือง, ต่อมน้ำเหลือง, และหลอดน้ำเหลืองซึ่งทำหน้าที่ขนส่งน้ำเหลืองนั้นจัดว่าอยู่ในระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ซึ่งมีหน้าที่ต่อต้านสารก่อโรคโดยเม็ดเลือดขาว, ต่อมทอนซิล, ทอนซิลคอหอย (adenoid) , ต่อมไทมัส และม้าม ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system) เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อ ระบบประสาท (Nervous system) ทำหน้าที่รวบรวม ขนส่ง และประมวลข้อมูลจากสมอง, ไขสันหลัง, และเส้นประสาท ระบบสืบพันธุ์ (Respiratory system) ประกอบด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น รังไข่, ท่อนำไข่, มดลูก, ช่องคลอด, ต่อมน้ำนม, อัณฑะ, หลอดนำอสุจิ, ถุงน้ำอสุจิ, ต่อมลูกหมาก, และองคชาต ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system) ประกอบด้วยอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ เช่น คอหอย, กล่องเสียง, ท่อลม, หลอดลม, ปอด, และกะบังลม
ระบบโครงกระดูก (Skeletal system) ค้ำจุนและป้องกันโครงสร้างอื่นๆ ด้วยกระดูก, กระดูกอ่อน, เอ็น และเอ็นกล้ามเนื้อ
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary system) ไต, ท่อไต, กระเพาะปัสสาวะ, และท่อปัสสาวะซึ่งเกี่ยวข้องกับสมดุลน้ำ แร่ธาตุ และการขับถ่ายปัสสาวะ
วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ดาวเคราะห์
นอกจากโลกและดวงจันทร์แล้ว ระบบสุริยะของเรายังมีดาวเคราะห์อีกหลายดวงและบางดวงก็มีบริวารเป็นจำนวนมากด้วย ทั้งหมดโคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนโลกของเรา มนุษย์เราก็ศึกษาดาวเคราะห์มาตั้งแต่ยังไม่มีเครื่องมือ จนกระทั่งปัจจุบันเราสามารถส่งยานไปสำรวจที่ดาวเคราะห์ดวงต่างๆได้ ทำให้เรารู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์พี่น้องของเรามากขึ้น
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ระบบสุริยะ (Solar System)
กำเนิดระบบสุริยะ
ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ 9 ดวงและดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์รวมกว่า 90 ดวง ดาวหางและอุกกาบาต วัตถุทั้งหมดในระบบสุริยะล้วนโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปในทิศทางเดียวกันและมีระนาบทางโคจรเกือบตั้งฉากกับแกนหมุนของดวงอาทิตย์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่ามวลสารเหล่านี้เกิดมาพร้อมกับดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์มีมวลมากที่สุดจึงเป็นจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ โดยมีแรงโน้มถ่วงยึดให้ดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจรอยู่โดยรอบดวงอาทิตย์ก่อกำเนิดขึ้นจากกลุ่มก๊าซและฝุ่น ที่เรียกว่า โซลาร์เนบิวลา (Solar Nebula) เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีที่ผ่านมา ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1) ด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของกลุ่มก๊าซและฝุ่นในโซลาร์เนบิวลาซึ่งหมุนรอบตัวเองทำให้ยุบตัวลงอย่างช้าๆ 2) ก๊าซและฝุ่นส่วนใหญ่ยุบตัวลงทำให้ใจกลางของโซลาร์เนบิวลามีความกดดันสูงขึ้น และหมุนรอบตัวเองเร็วขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลให้เศษฝุ่นและก๊าซที่เหลือโคจรรอบแกนหมุน มีรูปร่างเหมือนเป็นจานแบน ฝุ่นและก๊าซบางส่วนถูกเร่งออกมาจากแกนหมุน 3) เมื่อมีอายุได้ประมาณ 100,000 ปี อุณหภูมิที่ใจกลางสูงถึง 15 ล้านเคลวิน จึงเริ่มเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ขึ้นที่แกนกลาง เกิดเป็นดวงอาทิตย์ที่มีอายุน้อยส่องสว่างแต่ยังถูกห้อมล้อมไปด้วยก๊าซและฝุ่นที่เหลือเป็นจำนวนมาก
4) เมื่อเวลาผ่านไปหลายสิบล้านปี ก๊าซและฝุ่นที่เหลือชนกันไปมา ทำให้บางส่วนเกาะติดกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ซึ่งมีอุณหภูมิและแรงโน้มถ่วงที่สูงกว่าบริเวณที่ห่างออกไป 5) ก๊าซและฝุ่นบริเวณขอบนอกอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าและได้รับอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าบริเวณที่ใกล้ดวงอาทิตย์ จึงยุบรวมตัวกันอย่างช้าๆ ก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยก๊าซเป็นจำนวนมาก 6) ใช้เวลานับร้อยล้านปี ดาวเคราะห์ต่างๆ จึงจะมีรูปร่างที่เกือบสมบูรณ์ เศษหินและฝุ่นที่เหลือกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์บริวารและวงแหวนของดาวเคราะห์ รวมทั้งวัตถุขนาดเล็กและดาวหาง
ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ 9 ดวงและดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์รวมกว่า 90 ดวง ดาวหางและอุกกาบาต วัตถุทั้งหมดในระบบสุริยะล้วนโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปในทิศทางเดียวกันและมีระนาบทางโคจรเกือบตั้งฉากกับแกนหมุนของดวงอาทิตย์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่ามวลสารเหล่านี้เกิดมาพร้อมกับดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์มีมวลมากที่สุดจึงเป็นจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ โดยมีแรงโน้มถ่วงยึดให้ดาวเคราะห์ทั้งหลายโคจรอยู่โดยรอบดวงอาทิตย์ก่อกำเนิดขึ้นจากกลุ่มก๊าซและฝุ่น ที่เรียกว่า โซลาร์เนบิวลา (Solar Nebula) เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีที่ผ่านมา ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1) ด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของกลุ่มก๊าซและฝุ่นในโซลาร์เนบิวลาซึ่งหมุนรอบตัวเองทำให้ยุบตัวลงอย่างช้าๆ 2) ก๊าซและฝุ่นส่วนใหญ่ยุบตัวลงทำให้ใจกลางของโซลาร์เนบิวลามีความกดดันสูงขึ้น และหมุนรอบตัวเองเร็วขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลให้เศษฝุ่นและก๊าซที่เหลือโคจรรอบแกนหมุน มีรูปร่างเหมือนเป็นจานแบน ฝุ่นและก๊าซบางส่วนถูกเร่งออกมาจากแกนหมุน 3) เมื่อมีอายุได้ประมาณ 100,000 ปี อุณหภูมิที่ใจกลางสูงถึง 15 ล้านเคลวิน จึงเริ่มเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ขึ้นที่แกนกลาง เกิดเป็นดวงอาทิตย์ที่มีอายุน้อยส่องสว่างแต่ยังถูกห้อมล้อมไปด้วยก๊าซและฝุ่นที่เหลือเป็นจำนวนมาก
4) เมื่อเวลาผ่านไปหลายสิบล้านปี ก๊าซและฝุ่นที่เหลือชนกันไปมา ทำให้บางส่วนเกาะติดกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ซึ่งมีอุณหภูมิและแรงโน้มถ่วงที่สูงกว่าบริเวณที่ห่างออกไป 5) ก๊าซและฝุ่นบริเวณขอบนอกอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าและได้รับอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าบริเวณที่ใกล้ดวงอาทิตย์ จึงยุบรวมตัวกันอย่างช้าๆ ก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยก๊าซเป็นจำนวนมาก 6) ใช้เวลานับร้อยล้านปี ดาวเคราะห์ต่างๆ จึงจะมีรูปร่างที่เกือบสมบูรณ์ เศษหินและฝุ่นที่เหลือกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์บริวารและวงแหวนของดาวเคราะห์ รวมทั้งวัตถุขนาดเล็กและดาวหาง
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือ Oikos แปลว่า บ้าน, ที่อยู่อาศัย Logos แปลว่า เหตุผล, ความคิด
ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ
สิ่งมีชีวิต (Organism) หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ 1. ต้องมีการเจริญเติบโต 2. เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย 3. สืบพันธุ์ได้ 4. สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 5. ประกอบไปด้วยเซลล์ 6. มีการหายใจ 7. มีการขับถ่ายของเสีย 8. ต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆ ประชากร (Population) หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กัน โดยตรงหรือโดยทางอ้อม โลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere) หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกัน
แหล่งที่อยู่ (Habitat) หมายถึง บริเวณ หรือสถานที่ที่ใช้สำหรับผสมพันธุ์วางไข่ เป็นแหล่งที่อยู่ เช่น บ้าน สระน้ำ ซอกฟัน ลำไส้เล็ก สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง 1. สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตหรือ ดำรงชีวิตได้ดีหรือไม่ 2. สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ
สิ่งมีชีวิต (Organism) หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ 1. ต้องมีการเจริญเติบโต 2. เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย 3. สืบพันธุ์ได้ 4. สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 5. ประกอบไปด้วยเซลล์ 6. มีการหายใจ 7. มีการขับถ่ายของเสีย 8. ต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆ ประชากร (Population) หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กัน โดยตรงหรือโดยทางอ้อม โลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere) หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกัน
แหล่งที่อยู่ (Habitat) หมายถึง บริเวณ หรือสถานที่ที่ใช้สำหรับผสมพันธุ์วางไข่ เป็นแหล่งที่อยู่ เช่น บ้าน สระน้ำ ซอกฟัน ลำไส้เล็ก สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง 1. สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตหรือ ดำรงชีวิตได้ดีหรือไม่ 2. สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)